คอมเพรสเซอร์แอร์ (คอมแอร์บ้าน) คือเครื่องดูดและอัดน้ำยาแอร์ โดยคอมเพรสเซอร์ทำหน้าที่ดูดและอัดสารทำความเย็นหรือที่เราเรียกว่าน้ำยาแอร์ส่งไปตามท่อน้ำยาแอร์ที่เป็นท่อทองแดงโดยดูดสารทำความเย็นที่เป็นแก๊สอุณหภูมิและความดันต่ำ มาจากอีแวปปอเรเตอร์(คอยล์เย็น) เข้าทางท่อดูด(ท่อใหญ่) แล้วอัดให้เป็นแก๊สอุณหภูมิและความดันสูง ออกทางท่ออัด(ท่อเล็ก)เข้าสู่คอนเด็นเซอร์(คอยล์ร้อน) ตามลำดับ

ประเภทของคอมแอร์ สามารถแบ่งได้ 3 ประเภท โดยแบ่งตามลักษณะการทำงาน

1) คอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ (Reciprocating Compressor)
2) คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่ (Rotary Compressor)
3) คอมเพรสเซอร์แบบสโครล (Scroll Compressor)

1.คอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ (Reciprocating Compressor)

               การทำงานของคอมแอร์ชนิดนี้ จะมีห้องสำหรับดูดและอัด มีลิ้น 2 ลิ้น เปิด-ปิดตาม จังหวะดูดและอัด ในจังหวะที่ลิ้นด้านดูดเปิด น้ำยาที่เป็นไอจะถูกดูดเข้ามาในห้อง ลูกสูบจะเคลื่อน ตัวขึ้นมา อัดเพิ่มความดันให้น้ำยามีความดันสูงขึ้นและร้อนขึ้น แล้วปล่อยออกทางลิ้นด้านอัดเป็น อันจบครบ 1 รอบของการทำงาน หลังจากนั้นลูกสูบจะเคลื่อนตัวลงพร้อม ๆ กับที่ลิ้นด้านดูดเปิด อีกครั้ง เป็นการทํางานรอบต่อไป

หลักการทํางานของแบบลูกสูบ จังหวะดูด คือสภาวะที่ลูกสูบจะเคลื่อนที่ลง ลิ้นทางเข้าซึ่งเป็นสปริงถูกเปิดออก ลิ้นทางออก ปิดสนิทน้ำยาที่เป็นก๊าซจะถูกดูดเข้าในกระบอก จนถึงจุดเมื่อลูกสูบอยู่ที่ศูนย์ตายล่าง ลิ้นทั้งสอง จะปิดสนิท

จังหวะอัด คือ สภาวะที่ลูกสูบจะเคลื่อนที่ขึ้น ลิ้นทางออกซึ่งมีสภาพเป็นสปริงถูกเปิดออก ลิ้นทางเข้าปิดสนิท น้ำยาเป็นก๊าซอยู่ในกระบอกจะถูกลูกสูบอัดให้มีความดันสูงและอุณหภูมิสูงทางลิ้นทางออกจนถึงจุด เมื่อลูกสูบอยู่ที่ศูนย์ ตายบน จะมีปริมาตรช่องว่างเกิดขึ้น ปริมาตรของว่างนี้คือ ปริมาณของไอที่ดูดเข้าไปในคอมเพรสเซอร์ แต่เมื่อได้ถูกอัดก็จะทำให้ไอสารทำความเย็นที่ ถูกอัดมีความดันและ อุณหภูมิสูง แล้วจะถูกดันออกทางท่อทางออก

ส่วนก๊าซที่หลงเหลืออยู่ปริมาตรของช่องว่างคือ จากระยะระหว่างส่วนล่างของลิ้นทางอัดกับส่วนบนของลูกสูบ เมื่อลูกสูบอยู่ที่ศูนย์ตายบนในจังหวะอัดก๊าซ ซึ่งคอมแอร์แบบใดมีปริมาตรช่องว่างก็จะทำให้ประสิทธิภาพของ คอมเพรสเซอร์ลดน้อยลง

2.คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่ (Rotary Compressor)

แยกเป็นแบบใบพัดหมุนอยู่กับที่ (Rolling Piston Type) และแบบ ใบพัดหมุน (Sliding Vane Type) คอมแอร์บ้านแบบโรตารี นิยมใช้ติดตั้งให้กับเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน(Split Type) เนื่องจากมีเสียงรบกวนค่อนข้างน้อย ทำงานเงียบกว่าคอมแอร์ชนิดอื่น

คอมเพรสเซอร์โรตารี่แบบใบพัดหมุนอยู่กับที่ (Rolling Piston Type) ถูกออกแบบให้มีอุปกรณ์ป้องกันน้ำยาแอร์สถานะของเหลวไหลเข้าคอมเพรสเซอร์(Accumulator) ซึ่งถูกติดตั้งบริเวณข้างตัวคอมเพรสเซอร์

คอมเพรสเซอร์โรตารี่แบบใบพัดหมุน(Sliding Vane Type) จะใช้กับเครื่องปรับอากาศในรถยนต์หลักการทำงาน

ตัวโรเตอร์ (Rotor) จะกวาดไปตามผนังสูบซึ่งมีแผ่นกั้น (VANE) เป็นตัวแยกช่องอัดกับช่องดูด โครงสร้างทั่วไปจะมีขนาดกะทัดรัด และมีชิ้นส่วนน้อย อีกทั้งประสิทธิภาพสูง แต่จะมีการสึกหรอที่สูงเช่นกัน เนื่องจากแผ่นกั้น ต้องขัดสีกับผนังกระบอกสูบตลอดเวลา

หลักการทํางานของคอมแอร์แบบโรตารี่ จะมีห้องสำหรับดูดและอัดเมื่อมองจากด้านบนจะมีรูปร่างกลม และลูกสูบมีรูปร่างเหมือนล้อกลม เคลื่อนที่เป็นวงตามเข็มนาฬิกาภายในห้องดังกล่าว การเคลื่อนที่ของลูกสูบล้อกลมจะทำ ให้เกิดห้องดูดทางล่าง และห้องอัดทางด้านบน ห้องดูดจะมีปากทางห้องดูดเพื่อรับน้ำยาที่เป็นไอเข้ามา และห้องอัดจะมีลิ้นปิดอยู่ที่ทางปล่อยน้ำยาออก

การทำงานเริ่มต้นจากลูกสูบอยู่ตรงตำแหน่งระหว่างปากทางห้องดูดกับลิ้นด้านอัด แล้วเคลื่อนที่วนขวาเพื่อบีบให้ห้องอัดมีปริมาตรเล็กลง น้ำยาที่เป็นไอซึ่งมีอยู่เต็มห้องอัดแล้วจึงถูกอัดให้มีความดันสูงขึ้นจนเมื่อลูกสูบหมุน เกือบครบ 1 รอบ ลิ้นด้านอัดจะเปิดออกและน้ำยาดังกล่าวจึงถูกปล่อยเข้าสู่คอยล์ร้อน ในขณะเดียวกัน ทางซ้ายจะเกิดห้องดูดซึ่งจะดูด น้ำยาที่เป็นไอมารอไว้จนเต็มห้องเพื่อถูกอัด ความดันในการทํางานรอบต่อไป และนี่คือการทํางานของคอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่ 1 รอบ

3.คอมเพรสเซอร์แบบสโครล (Scroll Compressor)

คอมแอร์แบบสโครลหรือแบบก้นหอย ได้ถูกคิดค้นให้เป็นคอมเพรสเซอร์ที่เหนือกว่าคอมแอร์บ้านแบบเดิม ซึ่งจะมีสมรรถนะ อายุการใช้งานและประสิทธิภาพที่ดี ที่ใช้ กันอยู่จะมีขนาดเล็กและขนาดกลาง (1-50 ตัน)

คอมเพรสเซอร์แบบสโครลกำลังเป็นที่นิยมใช้เพิ่มขึ้นจากเดิม โดยออกแบบให้ป้องกันความบกพร่อง ในเรื่องของน้ำยาแอร์เหลวที่กลับเข้าคอมเพรสเซอร์ และการทํางานที่มีเสียงดัง หรือปัญหาจากอุปกรณ์ ในการอัดตัวต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของลิ้น คอมเพรสเซอร์ หรือลูกสูบแตกหัก มีชิ้นส่วน เคลื่อนที่น้อยกว่าแบบลูกสูบถึง 64 % และมีแรงปิดต่ำกว่าลูกสูบ 70 % จึงลดการสั่นสะเทือนได้ดี

หลักการทำงานของคอมเพรสเซอร์แบบสโครลจะเป็นแผ่น วงกลมสองวง มีครีบหมุนแบบก้นหอยสอดแผ่น ประกบคู่กัน เมื่อเพลาอยู่ที่ศูนย์องศาก้นหอยทั้งบนและล่างจะประกบกัน โดยปลายจะปิดสนิทกันพอดี เมื่อเพลาหมุนไปครบที่ 360 องศา ปลายก้นหอยจะปิดอีกครั้ง เพื่อกักก๊าซทางด้านดูดไหลเข้าไปจนเต็มห้องและเพลาหมุนไปครบที่ 360 องศา ปลายก้นหอยจะปิดอีกครั้งเพื่อกักก๊าซทางด้านดูดไว้และเมื่อเพลาหมุนต่อไปก้นหอยจะรีดอัดก๊าซนี้เล็กลงเรื่อย ๆ จนถึงศูนย์กลางของก้นหอย ก๊าซนี้จะมีความดันสูง และถูกส่งออกไปที่ห้องทางด้านอัด (Discharge Chamber) โดยผ่านวาล์ว

จากภาพจะสังเกตว่า เมื่อเพลาหมุน 360 องศา ตักก๊าซชุดแรกไว้แล้ว เมื่อหมุนต่อไปอีก 270 องศา ปลายก้นหอยจะเปิดเพื่อให้ก๊าซชุดที่สองไหลเข้าไปในห้องที่เปิดอยู่ ซึ่งจะทำเช่นนี้เป็น วัฏจักรตลอดเวลาการทำงาน

ส่วนประกอบห่วงที่แกว่ง (Swing Link) ซึ่งทำหน้าที่ให้ก้นหอยตัวล่างเบี่ยงศูนย์ไปตามแนวเส้นประ เมื่อมีของเหลวหรือสิ่งสกปรกซึ่งอัดตัวไม่ให้ สอดเข้ามาในก้นหอย ห่วงที่แกว่งและกับหอยตัวล่างเบี่ยงออกจะทำให้ผนังของก้นหอยทั้งสองแยก ออกจากกัน และอยู่ในลักษณะขนานกัน ทำให้สารทำความเย็นในห้องก้นหอยไหลกลับเข้าไปทาง ท่อดูด เมื่อก๊าซไหลกับหมดแล้วห่วงที่แกว่งก็จะกลับมาอยู่ในตำแหน่งเดิมทำการอัดสารทำความเย็นต่อไป ลักษณะการทำงานของห่วงที่แกว่ง เพื่อป้องกันการแตกเสียหายของคอมแอร์ เมื่อมีของเหลวหรือสิ่งสกปรกที่อัดตัวไม่ให้หลุดเข้าไปในคอมเพรสเซอร์ ซึ่งจะเป็นการยืดอายุคอมเพรสเซอร์ ได้เป็นอย่างดี